ปฏิทิน

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

หลากวิธีการเริ่มต้นทำ E-Commerce ที่คุณเลือกได้


หลากวิธีการเริ่มต้นทำ E-Commerce ที่คุณเลือกได้
ในการเริ่มต้นทำ E-Commerce ขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ไปยังคนทั่วโลกมีหลายรูปแบบท่านสามารถเริ่มต้นได้ด้วยงบลงทุนหลายๆ ขนาด ตั้งแต่เริ่มต้นด้วยไม่ถึงพันบาท จนไปถึง เป็นหลักแสนบาทได้หรือ จะเริ่มต้นแบบง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลยซักบาท ก็สามารถทำได้ โดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ขอบเขตและรูปแบบของ E-Commerce ที่คุณต้องการจะทำ ว่ามีรายละเอียดและการตอบสนองต่อธุรกิจคุณได้มากน้อยแค่ไหน โดยรูปแบบของอีคอมเมิร์ซที่สามารถเริ่มต้นได้อย่างง่ายๆ มีหลายรูปแบบได้แก่

1. การทำ E-Commerce โดยที่ไม่ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง

สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มต้นขายสินค้าออนไลน์ หรือมีสินค้าจำนวนไม่มากและไม่กี่ประเภท คุณสามารถค้าขายในโลกออนไลน์อย่างง่ายๆ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ของตัวเองเลย เพราะคุณสามารถนำข้อมูลสินค้าหรือบริการของคุณไปลงประกาศไว้ตามเว็บไซต์ที่ให้บริการ ประกาศซื้อ-ขายสินค้าได้ฟรีๆ (E-Classified) หรือตลาดกลางสินค้า (E-Marketplace) โดยที่คุณไม่จำเป้นต้องมีหน้าเว็บไซต์เลย เพราะหลังจากคุณลงประกาศข้อมูลลงไปแล้ว คุณก็จะมีหน้าแสดงข้อมูลสินค้าคุณง่ายๆ ของคุณเอง และข้อมูลประกาศสินค้าชิ้นนั้นก็จะแสดงอยู่ใน เว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งเว็บไซต์ลักษณะนี้จะมีคนเข้ามาเป็นจำนวนมากหลายแสนคน ทำให้คุณมีโอกาสขายสินค้าออกไปยังกลุ่มคนเหล่านี้ได้ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเลยซักบาท

บริการลักษณะนี้เหมาะสำหรับใคร?

- ผู้เพิ่งเริ่มต้นและอยากทดลองการขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต E-Commerce

- ผู้ที่มีสินค้าที่ไม่มากและไม่กี่ประเภท

- ผู้ที่มีเว็บไซต์อยู่แล้วและต้องการทำโฆษณาขายสินค้าของตนให้คนอื่นๆ รู้จักมากขึ้น

ข้อดี ของการทำอีคอมเมิร์ซโดยที่ไม่ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

- ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นทำ

- สะดวก ทำได้ด้วยตัวเองทันที!

- เข้าถึงคนนับล้านคนได้ทันที เพราะส่วนใหญ่เว็บลักษณะนี้จะมีคนเข้ามาใช้บริการมากอย่แล้ว

- ถ้าขยันประกาศ ทุกวัน หรือไปซื้อโฆษณาประกาศค้างเอาไว้เลย ยิ่งมีโอกาสในการขายมากขึ้น

ข้อเสีย ของการทำอีคอมเมิร์ซโดยที่ไม่ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

- เว็บไซต์ลักษณะนี้จะใส่ข้อมูลสินค้าได้ไม่มากจำกัด และใส่ได้ทีละรายการ

- ต้องเข้ามาลงประกาศอยู่เสมอ เพราะหน้าเว็บไซต์ลักษณะนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่

ตลอดเวลา (ทำให้ประกาศสินค้าของคุณหล่นไปอยู่ด้านล่างๆ หรือหายไป ดังนั้นต้องเข้ามาลง

ประกาศบ่อย ๆเพื่อให้คนเห็นสินค้าของคุณ)

- ไม่มีชื่อเว็บเป็นของตนเอง ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าอีกภายหลังได้ยาก ซึ่งหากมีโดเมนเป็นของตนเองจะสะดวกกว่า
2. การมีเว็บไซต์ E-Commerce เป็นของตัวเอง

สำหรับท่านที่มีสินค้าเป็นจำนวนมาก และมีหลายประเภท คุณอาจจะต้องการมีเว็บไซต์เป็นของตนเองเพื่อใส่ข้อมูลสินค้าที่มีมากมายหลากหลายประเภท อยู่ในเว็บไซต์คุณ เพราะข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้อยู่ในเว็บไซต์คุณทั้งหมด เพื่อสะดวกต่อลูกค้าในการเข้ามาค้นหาสินค้าหรือซื้อสินค้าของคุณ



ข้อดีของการมีเว็บไซต์ เป็นของตัวเอง

- มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง มีชื่อ URL หรือ Domain เป็นของตนเอง ทำให้จดจำได้ง่าย

- ใส่ข้อมูลสินค้าได้มาก ลงลึกในรายละเอียดสินค้าแต่ละรายการ

- สามารถเพิ่มระบบชำระเงินที่สามารถ ชำระเงินผ่านเว็บได้ทันที ผ่านบัตรเครดิตหรือธนาคาร

โดยตรง

- ปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมในสิ่งที่คุณต้องการได้ไม่จำกัด



ข้อเสียของการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

- ต้องมีการจัดทำเว็บไซต์ขึ้นมาก สำหรับของคุณโดยเฉพาะ

- ต้องคอยมานั่งดูแล บริหาร จัดการ เว็บไซต์ โดยอาจจะต้องจ้างหรือจัดทำเอง

- บางแห่งต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดทำ

- บางครั้งต้องทำการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์เพื่อให้ลูกค้ารู้จักเว็บไซต์ของเรา

(ซึ่งใช้เวลา-ค่าใช้จ่าย)


แหล่งที่มา : www.pawoot.com

ความรู้เบื้องต้น E-Commerce


ความรู้เบื้องต้น E-Commerce
E-business คืออะไร
e-Business นั้น คือ การดำเนินกิจกรรมทาง “ธุรกิจ”ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลจะมีคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ อาทิ

BI=Business Intelligence:
การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และ คู่แข่งขัน
EC=E-Commerce:
เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต
CRM=Customer Relationship Management:
การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ และ บริษัท – ระบบ CRM จะใช้ไอทีช่วยดำเนินงาน และ จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า
SCM=Supply Chain Management:
การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค
ERP=Enterprise Resource Planning:
กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง และ การผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง แผนและการจัดการการผลิต– ระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน

E-Commerce คืออะไร
E-Commerce มีชื่อที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” โดยความหมายของคำว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีผู้ให้คำนิยามไว้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีคำจำกัดความใดที่ใช้เป็นคำอธิบายไว้อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีดังนี้

“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2542)”

“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (WTO, 1998)

“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของ การประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ” (OECD, 1997)

จากความหมายของ e-business กับ e-commerce จะเห็นได้ว่าสองคำนี้มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่อันที่จริงแล้วมีความหมายต่างกัน
โดย e-business สรุปความหมายได้ว่าคือการทำกิจกรรมทุกๆอย่าง ทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตกว้างกว่า แต่ e-commerce จะเน้นที่การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนตเท่านั้น
จึงสรุปได้ว่า e-commerce เป็นส่วนหนึ่งของ e-business

ประเภทของ E-Commerce
ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C)
คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น

ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป

ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) คือการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น

ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G)
คือการประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com

ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C)
ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย


ที่มา : http://www.ecommerce.or.th/project/e-guide/index.html
: e-Commerce FAQ คำถามนี้มีคำตอบ โดยศูนย์พัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ หน้า 19-20
: หนังสือ e-commerce คู่มือประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หน้า 36-38
http://www.thaiwbi.com/topic/E-Ecommerce
http://202.28.94.55/webclass/pub-lesson.cs?storyid=278

ระบบ e-Commerce



ความหมายของ e-Commerce
e-Commerce(Electronic commerce)
คือ การใช้ Internet เป็นสื่อ เพื่อทำให้เกิดการค้าขายทางธุรกิจ
ความหมายของ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(e-Commerce) ที่สมบูรณ์ หมายถึง กระบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ อีดีไอ การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เอกสารแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์(Catalog) เป็นต้น

องค์ประกอบของ e-Commerce
1. ผู้ซื้อ
2. ผู้ขาย
3. ระบบชำระเงิน
4. ระบบขนส่ง

การติดตั้ง e-Commerce
http://www.oscommerce.com/solutions/downloads มี Open source ที่ยอดเยี่ยม
ตัวอย่างที่ http://www.oscommerce.com/osCommerce22ms2/

แหล่งที่มา
-www.websiteselldomain.com
-www.atii.th.org/html/ecom.html

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

อาหารของคนภาคเหนือ





แหล่งที่มาอาหารของคนภาคเหนือ
ภาคเหนือ เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีตเป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ ที่มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ และการที่คนเหนือมีเชื้อสายไทยใหญ่ หน้าตา ผิวพรรณ จึงต่างไปจากคนภาคอื่น ๆ ประกอบกับความอ่อนหวาน ซื่อ บริสุทธิ์ ทำให้คนเหนือมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของตนเอง นอกจากนี้ การมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทำให้เกิดธรรมชาติที่สวยงาม มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ และยังเป็นที่อยู่ของคนไทยภูเขา หลายเผ่าพันธุ์ ภาคเหนือจึงยังเป็นที่รวมของวัฒนธรรมที่หลากหลาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่งดงามเหล่านี้ได้สืบทอดกันมานานแสนนาน ภาคเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นคล้ายต่างประเทศไม้เมืองหนาวต่าง ๆ พันธุ์ ถูกนำมาทดลองปลูก และได้กลายเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่ เกษตรกรภาคเหนือเป็นอันมาก แต่ถึงจะสามารถปลูกพืช ผัก เมืองหนาวได้แต่อาหารดั้งเดิมของภาคเหนือ ก็ยังใช้ผักตามป่าเขา และผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ มาใช้ในการปรุงอาหารเป็นส่วนใหญ่ การรับประทานอาหารของคนภาคเหนือนั้น จะใช้โก๊ะข้าว หรือที่เรียกว่าขันโตก แทนโต๊ะข้าว โดยสมาชิกในบ้านจะนั่งล้อมวงเพื่อรับประทานอาหารกัน โก๊ะข้าว หรือขันโตก จะทำด้วยไม้รูปทรงกลม มีขาสูงพอที่จะนั่งร่วมวง และหยิบอาหารได้สะดวก ชาวบ้านภาคเหนือจะจัดอาหารใส่ถ้วยแล้ววางบนโก๊ะข้าว หรือบางบ้านอาจใช้ใส่กระด้งแทน การเก็บอาหารทีเหลือ เพื่อให้พ้นมด แมลง ที่จะมาไต่ตอม ก็จะใส่กระบุง แล้วผูกเชือก แขวนไว้ในครัว เมื่อต้องการจะรับประทานก็ชักเชือกลงมา ในครัว ทั่ว ๆ ไป จะมีราวไม้แขวน หอม กระเทียม
คนภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวกันเป็นอาหารหลัก ส่วนกับข้าวก็หาเอาตามท้องทุ่ง และลำน้ำ ทั้งกบ เขียด อึ่งอ่าง ปู ปลา หอย แมงยูน จีกุ่ง (จิ้งหรีดชนิดหนึ่ง) ไก่ หมู และเนื้อ อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานจะได้จากส่วนผสมที่นำมาทำอาหาร เช่น ความหวานจากผัก จากปลา จากมะเขือส้ม เป็นต้น การทำอาหารก็มักจะให้สุกมาก ๆ เช่นผัดก็จะผัดจนผักนุ่ม ผักต้มก็ต้มจนนุ่ม อาหารส่วนใหญ่จะใช้ผัดกับน้ำมัน แม้แต่ตำขนุน(ยำขนุน) เมื่อตำเสร็จก็ต้อง นำมาผัดอีกจึงจะรับประทาน ในปัจจุบันนี้ เนื้อสัตว์ที่นิยมนำมาทำอาหารจะเป็น หมู ไก่ เนื้อ และปลาตามลำดับ ปลาที่ใช้ในปัจจุบันมีทั้งปลาเลี้ยง และปลาที่จับ จากแม่น้ำลำคลอง

แหล่งที่มา
-www.thaigoodview.com
-www.thaifolk.com

อาชีพของคนภาคเหนือ



อาชีพของคนภาคเหนือ
ชาวเหนือส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ การทำนาส่วนใหญ่จะเป็นนาดำ ที่ลุ่มมาก ๆ จึงทำนาหว่าน คนเหนือปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะบริโภคข้าวเหนียว ข้าวเหนียวภาคเหนือถือเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี นึ่งสุกแล้วขาวสะอาด อ่อนและนิ่มน่ารับประทาน ข้าวพันธ์ที่มีชื่อเสียง คือ ข้าวสันป่าตอง นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่น ๆ เช่น หอม กระเทียม ถั่ว ยาสูบ เป็นต้น นอกจากปลูกข้าวแล้ว อาชีพทำสวนก็เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะทำสวนลำไย และลิ้นจี่ นอกจากจะขายให้คนไทยได้รับประทานแล้ว ยังส่งขายต่างประเทศอีกด้วย
ยังมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวเหนือ คือ การทำเมี่ยง ชาวเหนือชอบกินหมากและอมเมี่ยง โดยเอาใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักนานได้ที่ เวลาจะเอาใบเมี่ยงมาอม ก็ผสมเกลือเม็ดหรือของกินอย่างอื่นแล้วแต่ชอบ
นอกจากการอมเมี่ยง คนล้านนาทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า “ขี้โย” หรือ “บุหรี่ขี้โย” ที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น
นอกจากอาชีพเกษตรกรรม ชาวเหนือยังประกอบอาชีพอื่น อาจเรียกได้ว่าเป็นหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ได้ คือ ผู้หญิงจะทอผ้าเมื่อเสร็จจากการทำนา นอกจากนั้นยังมีการแกะสลัก การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน และการทำเครื่องเหล็ก เป็นต้น

แหล่งที่มา
-www.thaifolk.com/doc/northen.htm
-www.tkc.go.th

การแสดงของคนภาคเหนือ



การแสดงของคนภาคเหนือ
ภาคนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะเร็วท่าหยาบนุ่มนวล เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อนในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ
นาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนชมเดือน ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง)ตีกลองสะบัดไชย ซอ ค่าว นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น
ดังนั้น นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือนอกจากมีของที่เป็น "คนเมือง" แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ และของชนเผ่าต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า เช่น ฟ้อนม่านมงคล ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ เช่น ฟ้อนนก(กิงกาหล่า - ไทยใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว (เงี้ยว) ระบำเก็บใบชา(ชาวไทยภูเขา)

แหล่งที่มา
-www.banramthai.com/html/puenmuang.html
-th.wikipedia.org/wiki
-

ภาษาของคนภาคเหนือ


ภาษาของคนภาคเหนือ
ภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะพูดกันมากใน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก และ แพร่ และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในอุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์อีกด้วย
นอกจากนี้ คำเมืองเป็นภาษาของคนไท-ยวน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรืออาณาจักรล้านนา และ อาณาจักรโยนกในอดีต ปัจจุบันกล่มคนไท-ยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครราชสีมาอีกด้วย
คำเมืองมีไวยากรณ์เหมือนกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกัน แต่เดิมได้ใช้ คู่กับ ตั๋วเมือง,ตัวเมือง ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่อักษรมอญใช้เป็นต้นแบบ
ภาษาเหนือหรือภาษาล้านนาเป็นภาษาย่อยหรือภาษาถิ่นของภาษาไทย ใช้กันในดินแดนล้านนา 8 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
ความแตกต่างของภาษาพูด (คำเมือง) ระหว่างภาษากลางและภาษาเหนือคือ การใช้คำศัพท์ พยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ต่างกัน ตัวอย่างเช่น

คำศัพท์ต่างกัน(ภาษากลาง - ภาษาเหนือ)
ยี่สิบ - ซาว
ไม่ - บ่
เที่ยว - แอ่ว
ดู - ผ่อ
สวย - งาม
อีก - แหม
นาน - เมิน
สนุก, ดี, เพราะ - ม่วน
อร่อย - ลำ

แหล่งที่มา
-lms.thaicyberu.go.th/
-www.thaifolk.com/doc/northen.htm

การแต่งกายของคนภาคเหนือ



การแต่งกายของคนภาคเหนือ
การแต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า “เตี่ยว” หรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน

สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัวให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ จนถึงกับมีคำสุภาษิตของชาวเหนือสั่งสอนสืบต่อกันมาเลยว่า

ตุ๊กบ่ได้กิน บ่มีไผตามไฟส่องต้อง
ตุ๊กบ่ได้นุ่งได้ย่อง ปี้น้องดูแควน

แหล่งที่มา
-thainame.net
-www.giggog.com/

ชนเผ่าลีซู่



ชนเผ่าลีซู่

ตำนานของลีซู
ลีซู มีตำนานเล่าคล้ายๆ กับชนเผ่าหลายๆ เผ่าในเอเชียอาคเนย์ถึงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตอยู่เพียงหญิงหนึ่งชายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เพราะได้อาศัยโดยสารอยู่ในน้ำเต้าใบมหึมา พอน้ำแห้งออกมาตามหาใครก็ไม่พบ จึงประจักษ์ใจว่าตนเป็นหญิงชายคู่สุดท้ายในโลก ซึ่งถ้าไม่สืบเผ่ามนุษยชาติก็ต้องเป็นอันสูญพันธุ์สิ้นอนาคต แต่ก็ตะขิดตะขวางใจในการเป็นพี่น้อง เป็นกำลังจึงต้องเสี่ยงทายฟังความเห็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เห็นมีโม่อยู่บนยอดเขาจึงจับตัวครกกับลูกโม่แยกกันเข็นให้กลิ้งลงจากเขาคนละฟาก โม่เจ้ากรรมพอจะถึงตีนก็ไม่ยอมหยุดนิ่ง อุตสาห์กลิ้งอ้อมตีนเขาไปรวมกันเข้ารูปเดิมอย่างดิบดี ไม่ว่าจะลองเสี่ยงทายด้วยอะไรก็จะได้ผลแบบนี้ทั้งนั้น พี่ชายน้องสาวเห็นว่าพระเจ้ายินยอมพร้อมใจให้สืบพันธุ์แน่ๆ จึงตั้งหน้าตั้งตาผลิต ทั้งลูกชายทั้งลูกสาวซึ่งจับคู่กันเป็นต้นเผ่า

ความหมายคำว่าลีซู
ลีซูได้ชื่อว่าเป็นเผ่าที่แต่งกายมีสีสรรสดใส และหลากสีมากที่สุดในบรรดาชาวเขาทั้งหมด ความกล้าในการตัดสินใจ และความเป็นอิสระชนสะท้อนออกมาให้เห็นจากการใช้สีตัดกันอย่างรุนแรงในการเครื่องแต่งกาย คนอื่นเรียกว่าลีซอ แต่เรียกตนเองว่า “ลีซู” (คำว่า “ลี” มาจาก “อิ๊หลี่” แปลว่า จารีต ประเพณีหรือวัฒนธรรม “ซู” แปลว่า “คน”) มีความหมายว่ากลุ่มชนที่มีขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง หากมองในแง่วัฒนธรรมและบุคลิกภาพแล้ว อาจกล่าวได้ว่าชาวลีซูเป็นกลุ่มชนที่รักอิสระ มีระบบจัดการความสัมพันธ์ทางสังคมที่ยืดหยุ่น เป็นนักจัดการที่มีประสิทธิภาพ จะไม่ยอมรับสิ่งใหม่โดยไม่ผ่านการเลือกสรร และจะไม่ปฏิเสธวัฒนธรรมที่แตกต่างโดยไม่แยกแยะ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ชาวลีซูมีศักยภาพในการปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี

ความเป็นมา
ลีซู หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต มีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกูลธิเบต-พม่า 30% เป็นภาษาจีนฮ่อ ต้นกำเนิดของลีซูอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ชาวลีซูได้อพยพเข้าสู่เขตประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย ต่อมามีอีก 15 ครอบครัวอพยพตามมาด้วยในปีเดียวกัน ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเอง แต่สำหรับลีซูที่นับถือเป็นคริสเตียน กลุ่มมิชชั่นนารีได้ใช้อักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของชนเผ่าลีซู อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ลีซูลาย กับลีซูดำ ชาวลีซูที่อยู่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นลีซูลาย ส่วนลีซูดำ จะอยู่ในประเทศจีน พม่า์ อินเดีย และไทย ในประเทศไทยมีชุมชนลีซูอาศัยอยู่ 9 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย และลำปาง ตระกูลดั้งเดิมของชาวลีซูเดิมมี 6 กลุ่ม คือ น้ำผึ้ง (เบี่ยซือวี) ไม้ (ซือผ่า) ปลา (งัวะผ่า) หมี แมลงข้าว สาลี และกัญชง ตระกูลน้ำผึ้งใหญที่สุด แตกออกเป็นอีก 3 กลุ่มย่อย มีอยู่ 9 สายตระกูลจากการแต่งงานข้ามเผ่ากับชาวจีนฮ่อ เช่น ลี ย่าง ว่าง เหยา วู เขา โฮ จู และจ้าง ในกลุ่มนี้ ย่าง และลีเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด
ชาวลีซูนับถือบรรพบุรุษและบูชาเทพเจ้าโดยมีผู้นำสองคน คือ ผู้นำทางด้านวัฒนธรรม (มือหมือผะ) และ ผู้ประกอบพิธีกรรม (หนี่ผะ)
ประชากร
ในกลางปี พ.ศ. 2526 มีลีซูประมาณ 18,000 คน กระจายกันตั้งหมู่บ้านราว 110 หมู่ อยู่ในเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. 2501 สำรวจประชากรลีซูได้ประมาณ 7,500 คน คิดเป็นอัตราเพิ่ม 3.6% ต่อปี ตลอดระยะ 25 ปี ที่ผ่านมาซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มโดยธรรมชาต เพราะมีการอพยพเข้ามาขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2526 นี้มีประชากรลีซูอยู่ในพม่า 250,000 และในจีนราว 500,000 คน มีหลายร้อยครอบครัวที่เข้ามาอยู่ในทางชายแดนของตะวันออกฉัยงเหนือ แต่ไม่มีอยู่ในลาว และเวียดนามเลย ลีซูในไทยนั้นอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ราว 47% เชียงราย 23 % แม่ฮ่องสอน 19% อีก 11% กระจัดกระจายกันอยู่ใน พะเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และสุโขทัย ลีซูในเมืองไทยปัจจุบันแตกต่างไปจากชนเผ่าในตอนเหนือของพม่ามากมาย อาจเป็นเพราะได้แยกแตกตัวมาจากจีนส่วนใหญ่หลายชั่วคนแล้ว แถมยังมีการสมรสกับจีนฮ่อ จนผสมผสานกันถึงขั้นเรียกตนเองว่า ลีซูจีน ไปเลย
ประชากรลีซูจากการสำรวจในปี พ.ศ.2540 ของสถาบันวิจัยชาวเขามี 30,940 คน 151 หมู่บ้าน 5,114 ครัวเรือน คิดเป็น 4.11% ของประชากรชาวเชาทั้งหมด อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 23% จังหวัดเชียงราย 19% จังหจัดแม่ฮ่องสอน 11% และกระจายทั่วไปในจังหจัด พเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย

องค์กรชาวบ้านของลีซูในอดีต และในปัจจุบัน
1. ฆว่าทูว์ (ผุ้นำชุมชน) เป็นผู้ใหญ่บ้านทางการ
2. มือหมือผะ (ผู้นำด้านพิธีกรรม) ตำแหน่งการถูกแต่งตั้งยังเหมือนเดิม
3. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 1-2 คน โดย"ฆว่าทูว์" เป็นผู้แต่งตั้ง
4. อบต ทางการชุมชนเป็นผู้แต่งตั้ง ทำหน้าที่บริหารหมู่บ้าน และดึงงบประมาณ
5. คณะกรรมการในหมู่บ้าน
6. ที่ปรึกษา โชโหม่วโชตี (ผู้อาวุโส)
7. หนี่ผะ (หมอผี) ทำหน้าที่พิธีกรรมต่างๆ
สำหรับองค์กรชาวบ้านลีซู (องค์กรชนเผ่า) ในอดีตนั้นไม่ค่อยชัด แต่จะเด่นในการรวมกลุ่มเครือญาติในตระกูลเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นองค์ระหว่างชุมชนลีซู มีบทบาทมากในสังคมลีซูในอดีต ในปัจจุบันกลุ่มเครือญาติยังคงมีการรวมกลุ่มที่ทำพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งเครือญาติ

แหล่งที่มา
-http://www.hilltribe.org/thai/lisu/

ชนเผ่าล่าหู่



ชนเผ่าล่าหู่
ตามประวัติศาสตร์ของชนชาติ “ลาหู่” มีมานานไม่ต่ำกว่า 4,500 ปี โดยชาวลาหู่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในธิเบต และอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ต่อมาได้ทยอยอพยพลงมาอยู่ทางตอนใต้ของจีน โดยแบ่งออกเป็นสองสาย คือส่วนหนึ่งอพยพเข้ามาในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า เมื่อพ.ศ. 2383 และราว พ.ศ. 2423 ได้เข้ามาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย โดยตั้งรกรากที่อำเภอฝาง จ.เชียงใหม่ เป็นแห่งแรก อีกส่วนหนึ่งได้อพยพเข้าไปในประเทศลาวและเวียดนาม ทั้งนี้ชนเผ่าลาหู่ได้แบ่งเป็นเผ่าย่อยอีกหลายเผ่า อาทิ ลาหู่ดำ ลาหู่แดง ลาหู่เหลือง ลาหู่ขาว ลาหู่ปะกิว ลาหู่ปะแกว ลาหู่เฮ่กะ ลาหู่ลาบา ลาหู่เชแล ลาหู่บาลา เป็นต้น
ปัจจุบันในประเทศไทยมีชนเผ่าลาหู่อาศัยอยู่ราว 1.5 แสนคน โดยกระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ตามแนวชายแดนไทย - พม่ากว่า 800 หมู่บ้าน พื้นที่ที่มีชาวลาหู่อาศัยอยู่มากได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำปาง โดยเฉพาะตามพื้นที่ติดชายแดน ส่วนใหญ่แล้วชนเผ่าลาหู่ มักจะอาศัยปะปนกับชนเผ่าอื่น ๆ หรือคนไทย มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นหมู่บ้าน เผ่าลาหู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ลาหู่แดง ซึ่งมีการนับถือผี โดยโตโบหรือผู้นำทางศาสนา ส่วนลาหู่ดำหรือลาหู่เหลือง ก็มีการนับถือผีเช่นกัน นอกจากนี้เผ่าลาหู่ก็ยังมีการนับถือศาสนาคริสต์อีกด้วย
ด้านวิถีชีวิตของชนเผ่าลาหู่นั้น โดยปกติแล้วชนเผ่าลาหู่ชอบอาศัยอยู่บนที่สูง และเป็นชนเผ่าที่ไม่ชอบความวุ่นวาย มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย เป็นชนเผ่าที่สามารถปรับตัวเข้ากับผู้คนได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะยังชีพด้วยการเป็นชาวนา ปลูกข้าว และข้าวโพด เพื่อการบริโภคในครัวเรือน ลาหู่ก็ยังภูมิใจกับการเป็นนักล่าสัตว์ นอกจากนี้พวกเขายังเคร่งครัดกับกฎระเบียบของความถูกและผิด ทุกๆ คนจะตอบคำถามในพื้นฐานเดียวกับคนรุ่นเก่า ชาวลาหู่เข้มแข็งต่อการยึดมั่นต่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และทำงานด้วยกันเพื่อยังชีพ ลาหู่อาจเป็นกลุ่มคนที่มีความเท่าเทียมทางด้านเพศมากที่สุดในโลก

แหล่งที่มา
-www.oknation.net/blog/xeeb
-www.hilltribe.org/thai/lahu/

ชนเผ่าเมี้ยน



ชนเผ่าเมี้ยน
เมี่ยน [เย้า] ได้รับการจัดให้อยู่ในเชื้อชาติ มองโกลอยด์ คืออยู่ในตระกูลจีนธิเบต ได้ปรากฏครั้งแรกในเอกสารบันทึกของจีน สมัยราชวงศ์ถัง โดยปรากฏในชื่อ ม่อ เย้า มีความหมายว่าไม่อยู่ใต้อำนาจของผู้ใด เล่ากันว่า เมื่อประมาณ 2000 กว่าปีมาแล้วบรรพชน ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบรอบทะเลสาปตงถิง แถบแม่น้ำแยงซี ยอมอ่อนน้อมให้ชนชาติผู้ปกครองรัฐ และไม่ยินยอมอยู่ภายใต้การบังคับกดขี่ของรัฐ จึงได้ทำการอพยพเข้าไปในป่าลึกบนภูเขาสูง ได้ตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านด้วยมือของเขาเอง เพื่อปกป้องเสรีภาพจึงถูกขนานนามว่า ม่อ เย้า ซึ่ง เหยา ซี เหลียน ได้บันทึกไว้ในเหลียงซูต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง คำเรียกนี้ี้ถูกยกเลิกไปเหลือแต่คำว่า "เย้า" เท่านั้น
ต่อมาคำว่าเย้าเคยปรากฏในเอกสารจีน เมื่อประมาณศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตศักราช ซึ่งมีความหมายว่าป่าเถื่อน หรือคนป่ากล่าวกันว่าในประเทศจีนชนชาติเย้ามีคำเรียกขานชื่อของตนเองแตกต่างกันถึง 28 ชื่อ แต่คนเย้าในประเทศไทย เรียกตัวเองว่า เมี่ยน หรือ อิ้วเมี่ยน ซึ่งมีความหมายว่า มนุษย์ หรือ คนเหยา ซุ่น อัน กล่าวว่าชาวเย้าในประเทศจีนแยกออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ เผ่าเปี้ยน เผ่าปูนู เผ่าฉาซัน และเผ่าผิงตี้ ชาวเย้าเผ่าเปี้ยนมีประชากรมากที่สุดและเป็นกลุ่มที่ย้ายถิ่นฐานตลอดเวลาเป็นระยะทางที่ไกลที่สุด และกระจายกันอยู่ในอาณาบริเวณที่กว้างขวางที่สุดด้วย ภาษาเย้าในปัจจุบัน ผ่านการพัฒนากลายเป็นภาษาถิ่นย่อย 3 ภาษา คือ ภาษาเมี่ยน ภาษาปูนู และภาษาลักจา
มีนิทานที่เล่าขานต่อ ๆ กันมาของชาวเมี่ยนว่า ในสมัยก่อนตาอง [โล่งช้วน] ตากู๋ [กู๋ฟาม] เป็นเทพ อยู่บนสวรรค์ มีความคิดที่จะสร้างเผ่าเมี่ยนขึ้นมา ดังนั้นตาอง และตากู๋จึงได้ปรึกษาหารือกันอยู่บนสวรรค์ว่า จะให้ตากู๋ลงมาเกิดในโลกมนุษย์ โดยให้ลงมาเกิดเป็นลูกสาวคนที่สามของพระราชา ส่วนตาองจะลงมาเกิดในร่าง ของสุนัขมังกร เพราะมนุษย์ถือว่าสุนัขนั้นเป็นสัตว์เดรัจฉานที่ตํ่าต้อยที่สุด มักมีคนดูถูกตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อถึงเวลา ทั้งคู่จึงลงมาเกิดโดยวางแผนกันไว้ว่า อนาคตต้องทำการปกป้องคุ้มครองเผ่าเมี่ยน ตากู๋ลงมาเกิดเป็นลูกสาว พระราชามีชื่อว่า แป้งฮู่ง ซึ่งมีสิริโฉมงดงาม และฉลาดกว่าคนอื่น และได้ทำสัญลักษณ์ว่ามีไฝหนึ่งเม็ดที่ขาของตากู๋
ขณะนั้นในโลกมนุษย์มีเมืองอยู่ 2 เมือง เป็นของฝ่ายแป้งฮู่ง และกู๋ฮู่งได้ตกลงทำสงคราม มีคืนหนึ่งทั้งแป้งฮู่ง และกู๋ฮู่งต่างก็ได้ฝันว่าจะมีคนมาช่วยทำศึกให้นับจากนี้ 10 วัน ซึ่งขณะนั้นฝ่ายของแป้งฮู่ง ยังไม่พร้อมที่จะทำการสู้รบ จึงได้เรียกเหล่าขุนนางมาปรึกษากันว่าจะทำอย่างไรดี และในที่สุดก็สรุปว่าถ้าภายใน 1 เดือน ใครที่สามารถตัดหัวของกู๋ฮู่งแล้วนำมาให้ตนได้ ตนจะยกลูกสาวคนที่สามให้ผู้นั้นเป็นรางวัล โดยให้เป็นลูกเขย และจะยกแผ่นดิน และข้าทาสบริวารให้ปกครองครึ่งหนึ่ง เมื่อประกาศออกไปแล้ว ประชาชนในเมืองของแป้งฮู่งไม่มีใครกล้าอาสาออกไปสู้รบกับกู๋ฮู่ง ที่ท้ายเมืองมีครอบครัวหนึ่งตั้งบ้านอยู่ที่ปากทางนอกเมือง
วันหนึ่งได้มีสุนัขมังกร 5 สีตัวหนึ่งชื่อว่า ผันหู เข้ามาหา หญิงม่ายคนหนึ่งเห็นเข้าจึงได้พูดขึ้นว่า ตั้งแต่เกิดมาในโลกนี้ยังไม่เคยเห็นสุนัขมังกรตัวไหนที่ มีลักษณะสง่างาม และฉลาดเช่นนี้มาก่อน เราจะเอาสุนัขมังกรตัวนี้ไปถวายให้้กับพระราชาเป็นการสร้างบุญกุศลดีกว่า ดังนั้นจึงไปบอกพระราชา เมื่อพระราชาทราบจึงส่งคนรับกลับไปเลี้ยงไว้ เมื่อพระราชาได้เห็นก็รู้สึกดีใจ และได้สังเกตเห็นจุดต่าง ๆ บนร่างกายที่มีทั้งหมด 120 จุด และแต่ละจุดก็มีความสวยงามมาก และที่สำคัญคือ รู้ภาษาด้วย
วันหนึ่งพระราชาได้เปิดประชุม กับเหล่าขุนนาง และผันหูก็เข้าไปร่วมด้วย เมื่อฟังแล้วก็ไม่เห็นมีใครขันอาสาจะไปฆ่ากู๋ฮู่งได้ ผันหู จึงกล่าวขึ้นว่า ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องสิ้นเปลืองเสบียงอาหาร และใช้ทหารทั้งกองทัพ ให้ข้าไปจัดการคนเดียว เพราะเป็นสัตว์เดรัจฉาน ตํ่าต้อย คงไม่มีใครสงสัย และเฉลียวใจ ฝ่ายแป้งฮู่งก็เห็นด้วย เมื่อถึงเวลาออกเดินทาง เรื่องเดือดร้อนไปถึงบนสวรรค์์เบื้องบนต้องส่งยาวิเศษมาให้ผันหู 1 เม็ด เมื่อกินแล้วสามารถ ทนความหิวและอยู่ในทะเลได้ 7 วัน 7 คืน เมื่อว่ายนํ้าไปถึงฝั่งของกู๋ฮู่ง กู๋ฮู่งเห็นเข้า ก็นึกดีใจแล้วคิดว่าคงจะเป็นสุนัขมังกรที่จะมาช่วยตน
เมื่อพูดถึงกู๋ฮู่ง กู๋ฮู่งเป็นกษัตรย์ที่ชอบเข่นฆ่าคน ชอบทำสงคราม ชอบเอารัดเอาเปรียบประชาชน กู๋ฮู่งเมื่อเห็นผันหูพลางนึกในใจว่า คราวนี้เมื่อมีีสุนัขมังกรก็เห็นว่ามีความสามารถมากมาย อีกทั้งฉลาดด้วย จึงรักราวกับสมบัติอันมีค่า ไม่ว่าจะไปที่แห่งใดจะพาผันหูไปด้วยเสมอเหมือนเงาตามตัว เมื่อมีผันหูคุ้มครองคราวนี้ กู๋ฮู่งก็ไม่ต้องการทหารอารักษ์ขาอีกแล้ว จึงปล่อยปละละเลยราชกิจบ้านเมือง ไม่สนใจพออยู่กันไปผันหู
แต่กลับได้ชัยชนะ จึงเกิดการจัดงานเลี้ยงใหญ่โต แป้งฮู่งเคยพูดว่าถ้าใครสามารถเอาหัวกู๋ฮู่งมาได้จะยกลูกสาวคนที่สามให้ และเมืองอีกครึ่งหนึ่งแป้งฮู่ง กล่าวแล้วย่อมไม่คืนคำ แต่สงสารลูกสาวที่ต้องแต่งงานกับสุนัขมังกร กลัวโดนนินทา และลูกสาวจะต้องอาย ไม่กล้าสู้หน้าคน ดังนั้นจึงได้ทำผ้าคลุมหน้าเจ้าสาวไว้ แล้วเกณฑ์สาว ๆ ในเมืองที่มีรูปร่าง หน้าตาที่คล้ายลูกสาว ตนแล้วแต่งตัวคล้ายกันหมด ประมาณ 10 คนให้ทั้งหมดมานั่งอยู่ข้างนอก และให้ข้าทาสบริวารทุกคนออกมาชี้ว่า
คนไหนเป็นลูกสาวของตน แต่ไม่มีใครสามารถชี้ตัวได้ถูกต้อง ดังนั้นจึงเรียกผันหูมาชี้ตัว ผันหูจึงได้ใช้จมูกดมไปตามเท้าของแต่ละคนไปเรื่อย ๆ เพื่อจะหาสัญลักษณ์ที่ได้ บอกกับตากู๋ไว้ ดูไปเรื่อย ๆ จนเจอไฝหนึ่งเม็ดที่หน้าแข้ง จึงได้ใช้ปากงับชายเสื้อของลูกสาวแป้งฮู่งไว้แล้วดึง 2-3 ครั้ง
เมื่อแป้งฮู่งเห็นดังนั้น จึงรู้ว่าไม่สามารถหลบหลีกได้ และคิดในใจว่าสุนัขตัวนี้คงไม่ธรรมดาแน่ จึงจัดงานแต่งให้ 3 วัน 3 คืน แป้งฮู่งสงสารลูกสาวตัวเอง จึงได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า เกีย เซ็น ป๊อง [หนังสือเดินทาง] และแบ่งข้าทาสบริวารคอยติดตามรับใช้ และสามารถทำมาหากินได้บนผืนแผ่นดินได้โดยไม่่ผิดกฏหมาย และได้แต่งตั้งลูกเขยของตนเป็น พ่าน ต๋าย โหว ซึ่ง เป็นแซ่แรกของเผ่าเมี่ยน คือ แซ่่พ่าน และได้บอกว่าถ้าหากมีบุตรต้องพามาให้แป้งฮู่งตั้งชื่อให้
มื่อได้อําลาแป้งฮู่งแล้วก็นำบริวารทั้งหมดเข้าไปในป่า ซึ่งไม่มีบ้านเมืองต้องทำการโค่น ล้ม แผ้ว ถางป่า เพื่อสร้างบ้านเมืองขึ้นมาให้เกระทั่งภรรยาได้คลอดบุตรออกมา เป็นชาย 6 คน หญิง 6 คน ลูกชายได้แต่งภรรยาเข้าบ้าน และลูกหญิงทั้งหมดก็ให้แต่งสามีีเข้าบ้านเพื่อช่วยกันสืบเชื้อสาย ดังนั้นจึง เป็นที่มาของ ทั้ง12 แซ่ แซ่จากหนังสือ เกีย เซ็น ป๊อง
1. โล่ห์เปี้ยน [แซ่พ่าน]
2. เหล์เซี้ยม [แซ่เชิ้น]
3. โล่ห์ตั่ง [แซ่ตั้ง]
4. โล่ห์เจ๋ว [แซ่จ๋าว]
5. โล่ห์แจ๋ง [แซ่เจิ้น]
6. โล่ห์ย่าง [แซ่ว่าง]
7. โล่ห์ฟูง [แซ่ฟุ้ง]
8. โล่ห์เจียว [แซ่เจียว]
9. โล่ห์ต้อง [แซ่ถาง]
10. โล่ห์รวย [แซ่รวย]
11. โล่ห์เจียง [แซ่จาง]
12. โล่ห์เหลย [แซ่ลี]
สำหรับความหมาย ของแต่ละแซ่นั้นเป็นบัญญัติเฉพาะ ไม่มีคำแปล แต่ในประเทศไทยขณะนี้ มีการสำรวจพบ 12 แซ่ บางแซ่ไม่ได้ปรากฏในเกีย เซ็น ป๊อง ดังนี้
1. โล่ห์เปี้ยน [แซ่พ่าน]
2. โล่ห์เหลย [แซ่ลี]
3. โล่ห์ตั่ง [แซ่เติ้น]
4. โล่ห์เจ๋ว [แซ่จ๋าว]
5. โล่ห์ล่อ [แซ่ล่อ]
6. โล่ห์ย่าง [แซ่ว่าง]
7. โล่ห์ปู๋ง [แซ่ฟุ้ง]
8. โล่ห์จั้น [แซ่ชิ่น]
9. โล่ห์เลี่ยว [แซ่เลี่ยว]
10. โล่ห์สว้าง
11. โล่ห์ตั๋ว [แซ่ตั๊ว]
12. โล่ห์ท่าว [แซ่ท่าว]
วันหนึ่งผันหูนึกอยากกินเนื้อเลียงผา แต่ลูกหลานไปไร่กันหมด ผันหูจึงได้ออกมายังหน้าผา เพื่อไล่เลียงผา พอเลียงผาเห็นเข้าก็ตกใจวิ่งชนถูกผันหู ทำให้ผันหูตกลงไปในเหวแล้วก็ติดอยู่บนต้นตะจู้ง [ต้นซ้อ] ที่หน้าผาจนเสียชีวิต พอลูกหลานกลับมารู้ จึงได้ไปบอกแป้งฮู่ง แป้งฮู่งจึงได้มาดูเห็นผันหูตายแล้ว แต่ร่างกายไม่ถึงพื้นดินคาอยู่บนต้นตะจู้งข้างล่าง มีกอไผ่่หนึ่งกอรองรับไว้ แป้งฮู่งจึงบอกว่าถ้าสถานที่ตายเป็นอย่างนั้น ก็ให้เอาไม้ไผ่นั้นมาทำเป็นขลุ่ยต้นตะจู้ง ให้ตัดลงมาทำโล่งศพและถ้าหากวิญญาณของผันหูมีจริง คืนนีขอให้ลมพายุช่วยพัดต้นตะจู้ง ลงมาเพื่อให้ลูกหลานได้้นำร่างของผันหูกลับคืนนั้น และก็เกิดจริง ตอนที่ตกลงมานั้น มือข้างหนึ่งไปเกาะไม้ไผ่ต้นหนึ่งไว้ และอีกข้างหนึ่งก็ไปยันอีกต้นหนึ่งไว้ รุ่งเช้าแป้งฮู่งจึงพูดขึ้นว่าควรตัดไม้ไผ่นั้นมาทำเป็นจ๋าว [ไม้เสี่ยงทายใช้ในการประกอบพิธีกรรม] และให้เอาหนังเลียงผามาขึงทำเป็นกลอง เพื่อมาเคาะตีในงานพิธีงานศพให้กับผันหูการเดินทางจากจีนสู่ประเทศไทย ชาวเมี่ยนเผ่าเดิมมี 12 สกุล เส้นทางการอพยพของสกุลใหญ่ ๆ จะรู้เส้นทางชาวเย้าเผ่าเมี่ยนทั้งหมด ในหนังสือทางลงจากภูเขาของบรรพชน 12 สกุลที่ตำบลจงเหอเซียง อำเภอปกครองตนเอง ชนชาติเย้าเจียงหัว มณฑลฮูหนาน ถิ่นเดิมของชนชาติเย้าอยู่ที่นานไห่ผู เฉียวโถว จากตำนานชาวเย้าบางเผ่าที่อาศัยอยู่ตอนใต้ของทะเลสาปต้งถิงหู ก็มีเล่าว่าบรรพชนของพวกเขาย้ายมาจาก ผู เฉียว โกว แถบฝั่งเหนือของทะเลสาปต้งถิงหู จึงสันนิษฐานได้ว่า หนานไห่น่า จะหมายถึง ทะเลสาปต้ง ถึงชาวเย้า 12 สกุลคงจะข้ามทะเลสาปอพยพมาสู่ภาคใต้ ราวศตวรรตที่ 15-16 ชาวเย้าเผ่าเปี้ยน อพยพเข้ามาสู่ภาคเหนือของเวียตนามผ่านประเทศลาว และอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยในราว 100 ปีมานี้เอง
แหล่งที่มา
-oknation.net
-www.openbase.in.th
-www.moohin.com

ชนเผ่ากระเหรี่ยง



ชนเผ่ากระเหรี่ยง
กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง เดิมอาศัยอยู่แถบบริเวณต้นแม่น้ำสาละวินของพม่า ต่อมาได้อพยพเข้าสู่ประเทศพม่าและไทย มีภาษาพูดเรียกว่าภาษากะเหรี่ยง จัดในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ชาวกะเหรี่ยงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหลายอย่าง นอกเหนือจากภาษาพูดแล้ว ยังมีการแต่งกาย ศิลปะการแสดง และประเพณีต่างๆ ปัจจุบันมีชาวกะเหรี่ยงในประเทศพม่าประมาณ 7 ล้านคน และในไทยประมาณ 4 แสนคน
อนึ่ง คำว่า "กะเหรี่ยง" นั้น บางท่านถือว่าเป็นคำไม่เหมาะสม เป็นการเรียกด้วยความดูถูก แต่ชาวกะเหรี่ยงในบางชุมชน ก็แนะนำตัวเองว่า กะเหรี่ยง มิได้เห็นเป็นคำไม่เหมาะสมหรือดูถูก ทั้งนี้ความรู้สึกดังกล่าวยังขึ้นอยู่กับทรรศนะของผู้เรียกด้วย
กลุ่มชาติพันธุ์ “กะเหรี่ยง” คนล้านนาและคนทางภาคตะวันตกมักเรียกกะเหรี่ยงว่า “ยาง” พม่าเรียกพวกนี้ว่า “กะยิ่น” ฝรั่งเรียกว่า “กะเรน” (บางที่เขียนว่า กะเร็น) แต่พม่าออกเสียง ร เป็น ย แต่คำว่า กะเหรี่ยง กะเรน หรือกะยิ่น ก็เป็นคำที่พวกเขาไม่ชอบนัก สังเกตได้จากเมื่อครั้งพม่าได้รับเอกราช พวกเขาได้ตั้งชื่อรัฐของตนเองว่า “กะยา” แปลว่า “คน” (จิตร ภูมิศักดิ์, 2544: 279-280) อย่างไรก็ตาม เรื่องของชื่อเรียก “กะเหรี่ยง” นี้ยังเป็นปัญหาไม่เป็นที่ยุติ หลายคนในปัจจุบันเข้าใจว่าชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ไม่สมควรจะเรียกว่า “กะเหรี่ยง” อีกต่อไป เพราะมีความหมายไปเชิงดูถูก โดยสมควรให้เรียกว่า “ปกาเกอะญอ” แทน แต่หากศึกษากันไปแล้วกลับพบว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงหลายกลุ่มที่เรียกตนเองว่า “กะเหรี่ยง” และกลุ่มชาติพันธุ์ที่เดิมนักมานุษยวิทยาเห็นว่าควรจัดอยู่ในกลุ่มของกะเหรี่ยงกลับไม่ได้เรียกตัวเองว่ากะเหรี่ยงแต่อย่างใด กลับเรียกเป็นชื่ออื่น กลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกเรียกว่ากะเหรี่ยงมีหลายกลุ่มแตกต่างกันไป กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ๆ มี ปกาเกอะญอ (สกอว์) โพล่ง (โปว์) ตองสู้ (ปะโอ) และบะแก (บะเว)
แหล่งที่มา
-www.oknation.net/blog
-www.ttisfashionbiz.com

ชนเผ่าอาข่า



ชนเผ่าอาข่า
อ่าข่าเป็นชนกลุ่มๆ หนึ่ง ที่ใช้ชื่อเรียกชนกลุ่มตนเองว่าอ่าข่า ในประเทศจีนเรียกว่าฮานีหรือโวน อ่าข่าสามารถแยกศัพท์ได้ดังนี้ อ่า แปลว่าชื้น ข่า แปลว่าไกล ความหมายของคำว่าอ่าข่าคือ ห่างไกลความชื้น อ่าข่าชื่อนี้มาจากความเชื่อที่ว่า ถ้าอยู่ใกล้แม่น้ำมีโรคภัยไข้เจ็บมาก และจากตำนานของอ่าข่าที่เล่าสู่รุ่นหลังมา กล่าวว่า กาลครั้งหนึ่งอ่าข่าได้เสียชีวิตไปมาก เนื่องจากอยู่ใกล้แม่น้ำ ซึ่งอ่าข่าเรียกโรคนี้ว่า มี้หิ โรคนี้อาจตรงกับโรคอหิวาตกโรค หรือไข้มาลาเลียอย่างใดอย่างหนึ่ง จากตำนานและแนวความเชื่อมีผลต่อที่อยู่อาศัย อ่าข่าจึงมักอยู่ดอยสูงๆ อาศัยอยู่เฉพาะในทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่างๆ ดังนี้ ประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม และประเทศจีน ตามตำนานเล่าขานกันมาเดิมอ่าข่าอาศัยอยู่จีนเป็นแผ่นดินใหญ่ หรือที่อ่าข่าเรียกว่าดินแดน จ่าแตหมี่ฉ่า จากคำบอกเล่าพบว่าชนเผ่าอ่าข่าได้อพยพสู่ดินแดนต่างๆ เพราะปัญหาการเมืองในประเทศจีน สำหรับการเข้ามาสู่ประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อปี พ . ศ .2435 โดยมีเส้นทาง 2 สาย คือ สายแรกอพยพจากประเทศพม่าสู่ประเทศไทย เข้ามาครั้งแรกในเขตอำเภอแม่จัน หมู่บ้านพญาไพร ( ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง ) โดยการนำของ หู่ลอง จูเปาะ และหู่ซ้อง จูเปาะ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน ได้เข้าในเขตดอยตุง เส้นทางที่สอง ได้อพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ โดยผ่านรอยตะเข็บของประเทศพม่าและลาว เข้าสู่ประเทศไทยโดยตรงที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ปัจจุบันอ่าข่าได้กระจ่ายอยู่ในเขตจังหวัดภาคเหนือ 5 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก แพร่ และคาดได้มีอ่าข่าบางส่วนได้อพยพไปอยู่จังหวัดน่าน พิษณุโลก และหลายจังหวัดของประเทศไทย เพราะไปใช้แรงงานในจังหวัดดังกล่าว อย่างไรก็ตามจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าอ่าข่าให้ความกระจ่างว่าอ่าข่าประเทศไทยส่วนมากอพยพมาจากเชียงตุงของพม่า เข้ามาและปักหลักแหล่งครั้งแรกที่บ้านดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ผู้นำรุ่นแรกที่เข้ามาในประเทศไทยคือนายแสน อุ่นเรือน ส่วนญาติพี่น้องได้ย้ายไปอยู่หมู่บ้านต่างๆ เช่นบ้านแสนใจพัฒนา ผาหมี และแสนเจริญเก่า

แหล่งที่มา
-www.oknation.net
-www.oceansmile.com
-www.openbase.in.th
-

ศิลปะวัฒนธรรมของภาคเหนือ,ชนเผ่าพื้นเมือง(เผ่าม้ง)



ชุมชนชาวม้ง
ชุมชนชาวม้งบ้านดอยปุย ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ระหว่างเขตติดต่ออำเภอแม่ริมและอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมหมู่บ้านดอยปุยเป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นของชุมชนชาวเขาเผ่าม้ง ในปี พ.ศ. 2490 ชุมชนยังตั้งรกรากอยู่ที่บ้านปางป่าคา ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาปี พ.ศ. 2496 – 2497 ทางการได้ส่งทหารเข้ามาปราบปรามยาเสพติดที่หมู่บ้างปางป่าคา เนื่องจากได้มีกลุ่มจีนฮ่อค้าฝิ่นได้เข้ามาอยู่ปะปนกับชาวบ้าน และเมื่อสิ้นสุดการปราบปราม หมู่บ้านปางป่าคาก็ได้ล่มสลายไปในที่สุด ชาวบ้านซึ่งได้รับผลกระทบ และได้อพยพชุมชนเข้ามาตั้งรกรากอยู่ ณ บ้านดอยปุยในปัจจุบั ในปี พ.ศ. 2500 กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 5 (ค่ายดารารัศมี) ได้เข้ามาช่วยเหลือและพัฒนาหมู่บ้าน โดยจัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือให้กับชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ภาษาไทยและอ่านออกเขียนได้ และต่อมาการพัฒนาหมู่บ้านได้ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้พระราชทานโรงเรียนส่วนพระองค์แก่หมู่บ้าน โดยพระราชทานชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 1” และเปิดทำการสอนอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2507 นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2506 พระองค์ได้แนะนำอาชีพใหม่ด้านเกษตรกรรมแก่ชาวบ้าน และได้พระราชทานพันธุ์ลิ้นจี่ให้กับชาวบ้านโดยพระราชทานครัวเรือนละ 16 ต้น เพื่อปลูกและขยายพันธุ์ ชาวบ้านจึงได้ลดการปลูกฝิ่นและหันมาปลูกไม้ผลแทน และเลิกการปลูกฝิ่นโดยสิ้นเชิงในปี พ.ศ. 2515 เมื่อหมู่บ้านได้รับแนวทางการพัฒนาจากพระองค์ท่านแล้วหมู่บ้านได้ถือปฏิบัติตลอดมา และพระองค์ยังได้รับสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ฝ่ายปกครอง) สำรวจประชากรของหมู่บ้านและให้สัญชาติไทยแก่หมู่บ้านและชาวบ้าน ในปี พ.ศ. 2507 เป็นต้นมา และหมู่บ้านยังได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานทุทนทรัพย์ส่วนพระองค์ผ่านยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนค่ายราดารัศมี เพื่อเป็นกองทุนหมู่บ้านในการสร้างอาชีพด้านการค้าขาย เมื่อปี พ.ศ. 2510 จึงทำชาวบ้านรู้จักการค้าขายตั้งแต่บันนั้นเป็นต้นมาปัจจุบันมีแผงขายของ มีบ้าน และมีสวนลิ้นจี่เป็นของตนเองและสามารถปรับตัวทางวัฒนธรรมให้เป็นม้งอย่างสมบูรณ์ หมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งนี้ ตั้งอยู่บนดอยปุย ห่างจากพระตำหนักฯ 3 กม. เป็นทางลาดยางตลอด หมู่บ้านม้งดอยปุยนี้ เป็นหมู่บ้านที่น่าสนใจยิ่ง นอกจากเราจะเห็นสภาพ ความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ แล้ว บริเวณรอบ ๆ หมู่บ้านยังมีทิวทัศน์ที่สวยงามอย่างยิ่ง และยังสามารถมองเห็น ดอยอินทนนท์เบื้องหน้า ได้อย่างชัดเจนอีกด้วย หมู่บ้านม้งดอยปุยเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถไปเยี่ยมชมได้สะดวก ทั้งนี้เพราะอยู่ใกล้ตัวเมือง โดยใช้เวลาในการเดินทางจากตัวเมืองประมาณ 1 ชม.เท่านั้น ฉะนั้นจึงมีนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศนิยมเดินทางไปชมกันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งภายในหมู่บ้านยังมี ร้านขายของที่ระลึก ซึ่งผลิตภายในหมู่บ้าน และนำมาจากที่อื่นวางขายให้แก่นักท่องเที่ยวด้วย
แหล่งที่มา
-hmongasia.com
-travel.sanook.com

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมในวันไหว้ครูปี 2553



พิธีไหว้ครู
เป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่ง และนับเป็นประเพณีของไทยที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ แสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณของครูบาอาจารย์ ที่ประสิทธ์ประสาทวิชาเรามา ทั้งจรรยามารยาทและศิลปวิทยา การไหว้ครู ยังเป็นการแสดงตน ว่าตนเองขอเป็นศิษย์ของท่านโดยตรง เป็นการเคารพครูให้ถูกต้อง แสดงความนอบน้อมอย่างถูกวิธี ปวารณาตนให้ครูได้รับรู้ ว่าเราเป็นศิษย์ของท่านแล้ว พร้อมที่จะน้อมรับคำสั่งสอน ดุด่าว่ากล่าวจากท่านทุกประการ
โดยปรกติสถานศึกษามักจัดพิธีไหว้ครูขึ้นในวันพฤหัสบดีวันใดวันหนึ่งในราวเดือนพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายน ดอกไม้ที่ใช้ในการไหว้ครู ในพิธีไหว้ครูนับตั้งแต่สมัยก่อน จะใช้ดอกไม้หลัก 3 อย่างในการทำพาน ซึ่งดอกไม้ ความหมายในการระลึกคุณครู ได้แก่
หญ้าแพรก สื่อถึง ขอให้เรียนได้เร็วเหมือนหญ้าแพรก ที่โตได้เร็วและทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศ ทนต่อการเหยียบย่ำ ซึ่งเปรียบเสมือน คำดุด่าของครูบาอาจารย์
ดอกเข็ม สื่อถึง ขอให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม เหมือนชื่อของดอกเข็ม
ดอกมะเขือ สื่อถึง การเปรียบเทียบว่า มะเขือนั้น จะคว่ำดอกลงเสมอเมื่อจะออกลูก แสดงถึง นักเรียนที่จะเรียนให้ได้ผลดีนั้นต้องรู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคนสุภาพเรียบร้อย เหมือนมะเขือที่โน้มลง
ข้าวตอก เนื่องจากข้าวตอกเกิดจากข้าวเปลือกที่คั่วด้วยไฟอ่อนๆ ให้ร้อนเสมอกันจนถึงจุดหนึ่งที่เนื้อข้างในขยายออก จนดันเปลือกให้แยกออกจากกัน ได้ข้าวสีขาวที่ขยายเม็ดออกบาน ซึ่งสามารถนำไปประกอบพิธีกรรม หรือทำขนมต่างๆได้ ดังนั้น ข้าวตอกจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย หากใครสามารถทำตามกฎระเบียบ เอาชนะความซุกซนและความเกียจคร้านของตัวเองได้ ก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก
วิธีจัดงาน
การพิธีไหว้ครู ตามแบบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ จะต้องเตรียมสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
สถานที่
โต๊ะหมู่บูชา โดยตั้งไว้ที่สูงบนเวทีชิดด้านหลัง ข้างหน้ามีกระถางดอกไม้และธูปเทียน และ โต๊ะ เพื่อว่างพานดอกไม้และธูปเทียนที่นำมาบูชา
หนังสือ เพื่อให้ประธานเจิม โดยเอาหนังสือวางไว้บนพาน บนโต๊ะเล็กหน้าที่บูชา
ที่นั่งประธาน และ คณาจารย์ จัดไว้ข้างๆ ที่บูชา
ที่นั่งสำหรับนั่งเรียน
สิ่งที่ต้องเตรียมใพานดอกไม้ มีดอกไม้ หญ้าแพรก (หมายถึง การเจริญงอกงามของสติปัญญา) ดอกมะเขือ (หมายถึง การอ่อนน้อมถ่อมตน) ดอกเข็ม (หมายถึง เฉลียวฉลาด) จัดให้สวยงาม
ธูปเทียน ประกอบด้วยพานธูป เทียน
พิธีการ. . . . . . . . . . . . .
เมื่อประธานมาถึง ให้กราบทำความเคารพ จนกว่าคุณครูทุกท่านจะผ่านไปหมดทุกคนให้ประธานจุดธูปเทียน นมัสการพระพุทธรูปที่แท่นหมู่บูชา เริ่มพิธีโดยการสวดมนต์ ตามด้วยเจิมหนังสือเพื่อความเป็นสิริมงคล หลังจากนั้นกล่าวคาถาไหว้ครู และวรรคแรกของคำไหว้ครู
เมื่อกล่าวคำไหว้ครูเสร็จแล้ว ให้ว่าคาถาไหว้ครูตอนท้าย ตัวแทนนักเรียนกล่าวคำปฏิญาณตน ห้ตัวแทนของแต่ละห้องนำพานไปให้คุณครูแต่ละท่าน นการไหว้ครู
แหล่งที่มา
-www.baanmaha.com
-www.horawej.com/

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

วันครู 16 มกราคม 2553,ประวัติความเป็นมาของวันครู



ประวัติความเป็นมาของวันครู
ครู หมายถึงผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่
ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูใน
ราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า"คุรุสภา" ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคล
และให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็น
ในเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ จัดสวสัดิการให้แก่ครูและครอบครัว
ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
ด้วยเหตุนี้ในทุกๆปี คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศ
แถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมี
คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม"สามัคคยาจารย์"
หอประชุมของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา
ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการ
อำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจาก
ผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า"วันครู"ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดา
ลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไป
ถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือ
ครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ
ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จากแนวความคิดนี้ กอรปกับคว่ทคอดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วนเรียกร้องให้มี"วันครู"
เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่แประโยชน์ของชาติ
และประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มี
"วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอในหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณ
บูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน
ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็น"วันครู"
โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครู
และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติ
เป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ
หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ
การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบัน
ได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ดังนี้
1.กิจกรรมทางศาสนา
2.พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3.กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู สา่วนมากจะเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริง
ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้กำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภา โดยมี
คณะกรรมการจัดงานวันครูซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด
สำหรับส่วนภูมิภาคให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกันกับส่วนกลาง
จะรวมกันจัดที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง(หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธานอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์
และประชาชนร่วมกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 1,000 รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธี
ในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรี
จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ประธานฝ่ายสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงาน
ต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครู"อาวุโส"นอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึก
ถึงพระคุณบูรพาจารย์ ดังนี้
ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา
(วสันตดิลกฉันท์) ประพันธ์ โดยพระวรเวทย์พิสิฐ(วรเวทย์ ศิวะศรียานนท์)
ข้าขอประนมกรกระพุ่ม อภิวาทนาการ
กราบคุณอดุลคุรุประทาน หิตเทิดทวีสรร
สิ่งสมอุดมคติประพฤติ นรยึดประคองธรรม์
ครูชี้วิถีทุษอนันต์ อนุสาสน์ประภาษสอน
ให้เรืองและเปรื่องปริวิชาน นะตระการสถาพร
ท่านแจ้งแสดงนิติบวร ดนุยลอุบลสาร
โอบเอื้อและเจือคุณวิจิตร ทะนุศิษย์นิรันดร์กาล
ไป่เบื่อก็เพื่อดรุณชาญ ลุฉลาดประสาทสรรพ์
บาปบุญก็สุนทรแถลง ธุระแจงประจักษ์แจ้งครัน
เพื่อศิษย์สฤษดิ์คติจรัล มนเทิดผดุงธรรม
ปวงข้าประดานิกรศิษย์ (ษ)ยะคิดระลึกคำ
ด้วยสัตย์สะพัดกมลนำ อนุสรณ์เผดียงคุณ
โปรดอวยสุพิธพรเอนก อดิเรกเพราะแรงบุญ
ส่งเสริมเฉลิมพหุลสุน ทรศิษย์เสมอเทอญ ฯ
ปัญญาวุฒิกเรเตเต ทินโนวาเท นมามิหัง
จากนั้นประธานจัดงานวันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบนิ่ง 1 นาที เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว
ครูอาวุโสประจำการนำผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวคำปฏิญาณดังนี้
ข้อ 1.ข้าฯจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2.ข้าฯจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3.ข้าฯจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
จบแล้วพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและใน
ประจำการสุดท้ายกล่าวคำปราศัยและให้โอวาทแก่ครูที่มาประชุม
จรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู
1.เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2.ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
3.ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้ง
หน้าที่การงานไม่ได้
4.รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใดๆอันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
5.ถือปฏิบัติตามกฎระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
6.ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริต
หรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
7.ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการโดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำ
ผลงานของผู้อื่นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน
8.ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรม ไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง
หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
9.สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและสถานศึกษา
10.รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน

พระราชดำรัส
"ถ้าครูไม่ห่วงประโยชน์ที่ควรจะห่วง หันไปห่วงอำนาจ ห่วงตำแหน่ง ห่วงสิทธิ์ และห่วงรายได้กันมากเข้าๆ
แล้วจะเอาจิตใจที่ไหนมาห่วงความรู้ ความดี ความเจริญของเด็ก ความห่วงใยในสิ่งเหล่านั้นก็จะค่อยๆบั่นทอนทำลาย
ความเป็นครูไปจนหมดสิ้นจะไม่มีอะไรดีเหลือไว้ พอที่ตัวเองจะภาคภูมิใจหรือผูกใจใครไว้ได้ ความเป็นครูก็จะไม่มี
ี ค่าเหลืออยู่ให้เป็นที่ เคารพบูชาอีกต่อไป"

แหล่งที่มา
- school.obec.go.th/
- hilight.kapook.com
- www.zabzaa.com

รูปภาพงานเทศกาลปีใหม่ 2553

สวัสดีปีใหม่ 2553



สถานที่เคาท์ดาวน์สุดชิคทั่วไทยปี 2553
วันหยุดยาวช่วงเทศกาลปีใหม่ 2553 นี้ ยิ้มแก้มปริกันเลย เพราะได้หยุดต่อเนื่องถึง 4 วันเต็มๆ เพื่อนๆ มีสถานที่ท่องเที่ยวไว้ไปเคาท์ดาวน์กันหรือยังเอ่ย? ใครที่ยังไม่มีไอเดีย ลองดูสถานที่ Countdown ทั่วกรุง และแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติยอดนิยมทั่วไทยที่เรารวบรวมมาฝากกันดูนะจ๊ะ ที่เคาท์ดาวน์ฮิปๆ เก๋ๆ ทั้งนั้น ตั้งแต่แค้มปิ้งบนยอดดอย ชมวิวทะเลหมอก สัมผัสสายลมหนาวจับใจ, แหวกว่ายกับฝูงปลา ดำน้ำรอบหมู่เกาะต่างๆ ไปจนถึงเดินป่า สำรวจธรรมชาติบนภูเขาในบรรยากาศเย็นๆ ชิลล์ๆ ไม่ว่าจะภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ตะวันออก ตะวันตก เมืองไทยเรามีแหล่งท่องเที่ยวครบทุกสีสัน มันส์เต็มพิกัดจริงๆ ไม่เคยไปที่ไหน หรือไปแล้วติดใจอยากกลับไปอีกครั้ง รีบวางแผน หาที่พักกันด่วนเลยจ้า
เบื่อรถติด ไม่ชอบแย่งกันกิน-เที่ยว อยู่เคาท์ดาวน์ที่กรุงเทพฯ กันดีกว่า
เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของปีที่หลายคนรอคอย สำหรับการจัดงานเคาท์ดาวน์ในกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมรแห่งนี้ ปีนี้ มีหลายแห่งในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้ๆ ที่พร้อมใจกันจัดงานส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2553 เพื่อสร้างสีสันให้เมืองกรุงมีชีวิตชีวาเป็นพิเศษ ใครไม่ได้ออกไป countdown ต่างจังหวัด ก็สามารถเก็บเกี่ยวบรรยากาศคึกคักของเมืองหลวงได้ไม่แพ้เมืองใหญ่ๆ
เมืองอื่นโชว์แสง สี เสียง 3 มิติ ในคอนเซปต์ The Enchanted Voyage of the World ที่โดดเด่นด้วยเทคนิค interactive ครั้งแรกของเมืองไทย ไฮไลท์เด่นของการแสดงชุดนี้อยู่ที่การพาผู้ชมโลดแล่นไปสู่โลกแห่งจินตนาการ เดินทางท่องไปยังสถานที่ต่างๆ ตามเส้นทางธรรมชาติอันเลื่องชื่อในทั่วทุกมุมโลก มากกว่า 20 เส้นทาง

กิจกรรมนับถอยหลัง ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2553 ย่านราชประสงค์ @Central World
ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2552 - 1 มกราคม 2553 ในเขตกรุงเทพมหานคร
ขอพรช้างเอราวัณ สุขสันต์ Countdown 2010
วันจัดงาน : 31 ธันวาคม 2552 ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป
สถานที่จัดงาน : พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ จ.สมุทรปราการ
ชมการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง, ลิเกพื้นบ้าน, การแสดงมายากล, chill out กับดนตรีในสวนบรรยากาศ Winter Love Song, เลือกซื้อสินค้ามากมายบนถนนคนเดิน, ดูงานศิลปะฝีมืออาร์ตติส เมืองปากน้ำ พิเศษสุด… หางบัตรชิงของรางวัลและเงินสดรวมมูลค่ากว่า 50,000 บาท
แอ่วเหนือ-ขึ้นอีสาน-ล่องใต้ ไปเคาท์ดาวน์ปีใหม่แบบอินเทรนด์
เทศกาลปีใหม่นับเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ที่หลายๆ ครอบครัวเฝ้ารอเพื่อจะข้ามคืนสุดท้ายของปีเก่า เข้าสู่ศักราชใหม่ไปอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน และคงจะดีไม่น้อย หากได้เปลี่ยนบรรยากาศไป countdown ในสถานที่ท่องเที่ยวแปลกใหม่ ร่วมกับญาติพี่น้อง หรือเพื่อนสนิท พร้อมทั้งสูดอากาศเย็นสดชื่นให้ฉ่ำปอด ผ่อนคลายสายตาจากความเหนื่อยล้ามาตลอดปีกับธรรมชาติเขียวขจีและบริสุทธิ์ ท่ามกลางขุนเขาในภาคเหนือ - อีสาน หรือจะเยือนถิ่นตะวันออก - ล่องแดนใต้ หลบความวุ่นวายไปติดเกาะ แหวกว่ายทักทายฝูงปลา-ปะการัง และพักผ่อนบนชายหาดสวยงามอันดับต้นๆ ของเมืองไทย ก็ถือว่าเป็นไอเดียเคาท์ดาวน์ที่เก๋ไก๋ไปอีกแบบ โอกาสนี้ เราขอแนะนำแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติฮอตฮิตทั่วไทย ที่นักท่องเที่ยวนิยมไปฉลองปีใหม่กันมากที่สุด 10 อันดับค่ะ
1. อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เชียงใหม่
2. ปาย แม่ฮ่องสอน
3. ภูชี้ฟ้า เชียงราย
4. ผาแต้ม อุบลราชธานี
5. มอหินขาว ชัยภูมิ (1 ในแคมเปญ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน)
6. เขาใหญ่ นครราชสีมา
7. หมู่เกาะช้าง เกาะกูด ตราด
8. เกาะทะลุ ประจวบคีรีขันธ์
9. เกาะสมุย เกาะพะงัน สุราษฎร์ธานี
10. หมู่เกาะตะรุเตา หมู่เกาะอาดัง-ราวี สตูล
แหล่งที่มา
-travel.mthai.com
-www.bangkoktourist.com

picasa

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้