ปฏิทิน

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

หลากวิธีการเริ่มต้นทำ E-Commerce ที่คุณเลือกได้


หลากวิธีการเริ่มต้นทำ E-Commerce ที่คุณเลือกได้
ในการเริ่มต้นทำ E-Commerce ขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ไปยังคนทั่วโลกมีหลายรูปแบบท่านสามารถเริ่มต้นได้ด้วยงบลงทุนหลายๆ ขนาด ตั้งแต่เริ่มต้นด้วยไม่ถึงพันบาท จนไปถึง เป็นหลักแสนบาทได้หรือ จะเริ่มต้นแบบง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลยซักบาท ก็สามารถทำได้ โดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ขอบเขตและรูปแบบของ E-Commerce ที่คุณต้องการจะทำ ว่ามีรายละเอียดและการตอบสนองต่อธุรกิจคุณได้มากน้อยแค่ไหน โดยรูปแบบของอีคอมเมิร์ซที่สามารถเริ่มต้นได้อย่างง่ายๆ มีหลายรูปแบบได้แก่

1. การทำ E-Commerce โดยที่ไม่ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง

สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มต้นขายสินค้าออนไลน์ หรือมีสินค้าจำนวนไม่มากและไม่กี่ประเภท คุณสามารถค้าขายในโลกออนไลน์อย่างง่ายๆ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ของตัวเองเลย เพราะคุณสามารถนำข้อมูลสินค้าหรือบริการของคุณไปลงประกาศไว้ตามเว็บไซต์ที่ให้บริการ ประกาศซื้อ-ขายสินค้าได้ฟรีๆ (E-Classified) หรือตลาดกลางสินค้า (E-Marketplace) โดยที่คุณไม่จำเป้นต้องมีหน้าเว็บไซต์เลย เพราะหลังจากคุณลงประกาศข้อมูลลงไปแล้ว คุณก็จะมีหน้าแสดงข้อมูลสินค้าคุณง่ายๆ ของคุณเอง และข้อมูลประกาศสินค้าชิ้นนั้นก็จะแสดงอยู่ใน เว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งเว็บไซต์ลักษณะนี้จะมีคนเข้ามาเป็นจำนวนมากหลายแสนคน ทำให้คุณมีโอกาสขายสินค้าออกไปยังกลุ่มคนเหล่านี้ได้ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเลยซักบาท

บริการลักษณะนี้เหมาะสำหรับใคร?

- ผู้เพิ่งเริ่มต้นและอยากทดลองการขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต E-Commerce

- ผู้ที่มีสินค้าที่ไม่มากและไม่กี่ประเภท

- ผู้ที่มีเว็บไซต์อยู่แล้วและต้องการทำโฆษณาขายสินค้าของตนให้คนอื่นๆ รู้จักมากขึ้น

ข้อดี ของการทำอีคอมเมิร์ซโดยที่ไม่ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

- ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นทำ

- สะดวก ทำได้ด้วยตัวเองทันที!

- เข้าถึงคนนับล้านคนได้ทันที เพราะส่วนใหญ่เว็บลักษณะนี้จะมีคนเข้ามาใช้บริการมากอย่แล้ว

- ถ้าขยันประกาศ ทุกวัน หรือไปซื้อโฆษณาประกาศค้างเอาไว้เลย ยิ่งมีโอกาสในการขายมากขึ้น

ข้อเสีย ของการทำอีคอมเมิร์ซโดยที่ไม่ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

- เว็บไซต์ลักษณะนี้จะใส่ข้อมูลสินค้าได้ไม่มากจำกัด และใส่ได้ทีละรายการ

- ต้องเข้ามาลงประกาศอยู่เสมอ เพราะหน้าเว็บไซต์ลักษณะนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่

ตลอดเวลา (ทำให้ประกาศสินค้าของคุณหล่นไปอยู่ด้านล่างๆ หรือหายไป ดังนั้นต้องเข้ามาลง

ประกาศบ่อย ๆเพื่อให้คนเห็นสินค้าของคุณ)

- ไม่มีชื่อเว็บเป็นของตนเอง ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าอีกภายหลังได้ยาก ซึ่งหากมีโดเมนเป็นของตนเองจะสะดวกกว่า
2. การมีเว็บไซต์ E-Commerce เป็นของตัวเอง

สำหรับท่านที่มีสินค้าเป็นจำนวนมาก และมีหลายประเภท คุณอาจจะต้องการมีเว็บไซต์เป็นของตนเองเพื่อใส่ข้อมูลสินค้าที่มีมากมายหลากหลายประเภท อยู่ในเว็บไซต์คุณ เพราะข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้อยู่ในเว็บไซต์คุณทั้งหมด เพื่อสะดวกต่อลูกค้าในการเข้ามาค้นหาสินค้าหรือซื้อสินค้าของคุณ



ข้อดีของการมีเว็บไซต์ เป็นของตัวเอง

- มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง มีชื่อ URL หรือ Domain เป็นของตนเอง ทำให้จดจำได้ง่าย

- ใส่ข้อมูลสินค้าได้มาก ลงลึกในรายละเอียดสินค้าแต่ละรายการ

- สามารถเพิ่มระบบชำระเงินที่สามารถ ชำระเงินผ่านเว็บได้ทันที ผ่านบัตรเครดิตหรือธนาคาร

โดยตรง

- ปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมในสิ่งที่คุณต้องการได้ไม่จำกัด



ข้อเสียของการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

- ต้องมีการจัดทำเว็บไซต์ขึ้นมาก สำหรับของคุณโดยเฉพาะ

- ต้องคอยมานั่งดูแล บริหาร จัดการ เว็บไซต์ โดยอาจจะต้องจ้างหรือจัดทำเอง

- บางแห่งต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดทำ

- บางครั้งต้องทำการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์เพื่อให้ลูกค้ารู้จักเว็บไซต์ของเรา

(ซึ่งใช้เวลา-ค่าใช้จ่าย)


แหล่งที่มา : www.pawoot.com

ความรู้เบื้องต้น E-Commerce


ความรู้เบื้องต้น E-Commerce
E-business คืออะไร
e-Business นั้น คือ การดำเนินกิจกรรมทาง “ธุรกิจ”ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลจะมีคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ อาทิ

BI=Business Intelligence:
การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และ คู่แข่งขัน
EC=E-Commerce:
เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต
CRM=Customer Relationship Management:
การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ และ บริษัท – ระบบ CRM จะใช้ไอทีช่วยดำเนินงาน และ จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า
SCM=Supply Chain Management:
การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค
ERP=Enterprise Resource Planning:
กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง และ การผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง แผนและการจัดการการผลิต– ระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน

E-Commerce คืออะไร
E-Commerce มีชื่อที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” โดยความหมายของคำว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีผู้ให้คำนิยามไว้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีคำจำกัดความใดที่ใช้เป็นคำอธิบายไว้อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีดังนี้

“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2542)”

“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (WTO, 1998)

“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของ การประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ” (OECD, 1997)

จากความหมายของ e-business กับ e-commerce จะเห็นได้ว่าสองคำนี้มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่อันที่จริงแล้วมีความหมายต่างกัน
โดย e-business สรุปความหมายได้ว่าคือการทำกิจกรรมทุกๆอย่าง ทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตกว้างกว่า แต่ e-commerce จะเน้นที่การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนตเท่านั้น
จึงสรุปได้ว่า e-commerce เป็นส่วนหนึ่งของ e-business

ประเภทของ E-Commerce
ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C)
คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น

ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป

ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) คือการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น

ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G)
คือการประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com

ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C)
ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย


ที่มา : http://www.ecommerce.or.th/project/e-guide/index.html
: e-Commerce FAQ คำถามนี้มีคำตอบ โดยศูนย์พัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ หน้า 19-20
: หนังสือ e-commerce คู่มือประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หน้า 36-38
http://www.thaiwbi.com/topic/E-Ecommerce
http://202.28.94.55/webclass/pub-lesson.cs?storyid=278

ระบบ e-Commerce



ความหมายของ e-Commerce
e-Commerce(Electronic commerce)
คือ การใช้ Internet เป็นสื่อ เพื่อทำให้เกิดการค้าขายทางธุรกิจ
ความหมายของ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(e-Commerce) ที่สมบูรณ์ หมายถึง กระบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ อีดีไอ การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เอกสารแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์(Catalog) เป็นต้น

องค์ประกอบของ e-Commerce
1. ผู้ซื้อ
2. ผู้ขาย
3. ระบบชำระเงิน
4. ระบบขนส่ง

การติดตั้ง e-Commerce
http://www.oscommerce.com/solutions/downloads มี Open source ที่ยอดเยี่ยม
ตัวอย่างที่ http://www.oscommerce.com/osCommerce22ms2/

แหล่งที่มา
-www.websiteselldomain.com
-www.atii.th.org/html/ecom.html

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

อาหารของคนภาคเหนือ





แหล่งที่มาอาหารของคนภาคเหนือ
ภาคเหนือ เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีตเป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ ที่มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ และการที่คนเหนือมีเชื้อสายไทยใหญ่ หน้าตา ผิวพรรณ จึงต่างไปจากคนภาคอื่น ๆ ประกอบกับความอ่อนหวาน ซื่อ บริสุทธิ์ ทำให้คนเหนือมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของตนเอง นอกจากนี้ การมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทำให้เกิดธรรมชาติที่สวยงาม มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ และยังเป็นที่อยู่ของคนไทยภูเขา หลายเผ่าพันธุ์ ภาคเหนือจึงยังเป็นที่รวมของวัฒนธรรมที่หลากหลาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่งดงามเหล่านี้ได้สืบทอดกันมานานแสนนาน ภาคเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นคล้ายต่างประเทศไม้เมืองหนาวต่าง ๆ พันธุ์ ถูกนำมาทดลองปลูก และได้กลายเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่ เกษตรกรภาคเหนือเป็นอันมาก แต่ถึงจะสามารถปลูกพืช ผัก เมืองหนาวได้แต่อาหารดั้งเดิมของภาคเหนือ ก็ยังใช้ผักตามป่าเขา และผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ มาใช้ในการปรุงอาหารเป็นส่วนใหญ่ การรับประทานอาหารของคนภาคเหนือนั้น จะใช้โก๊ะข้าว หรือที่เรียกว่าขันโตก แทนโต๊ะข้าว โดยสมาชิกในบ้านจะนั่งล้อมวงเพื่อรับประทานอาหารกัน โก๊ะข้าว หรือขันโตก จะทำด้วยไม้รูปทรงกลม มีขาสูงพอที่จะนั่งร่วมวง และหยิบอาหารได้สะดวก ชาวบ้านภาคเหนือจะจัดอาหารใส่ถ้วยแล้ววางบนโก๊ะข้าว หรือบางบ้านอาจใช้ใส่กระด้งแทน การเก็บอาหารทีเหลือ เพื่อให้พ้นมด แมลง ที่จะมาไต่ตอม ก็จะใส่กระบุง แล้วผูกเชือก แขวนไว้ในครัว เมื่อต้องการจะรับประทานก็ชักเชือกลงมา ในครัว ทั่ว ๆ ไป จะมีราวไม้แขวน หอม กระเทียม
คนภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวกันเป็นอาหารหลัก ส่วนกับข้าวก็หาเอาตามท้องทุ่ง และลำน้ำ ทั้งกบ เขียด อึ่งอ่าง ปู ปลา หอย แมงยูน จีกุ่ง (จิ้งหรีดชนิดหนึ่ง) ไก่ หมู และเนื้อ อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานจะได้จากส่วนผสมที่นำมาทำอาหาร เช่น ความหวานจากผัก จากปลา จากมะเขือส้ม เป็นต้น การทำอาหารก็มักจะให้สุกมาก ๆ เช่นผัดก็จะผัดจนผักนุ่ม ผักต้มก็ต้มจนนุ่ม อาหารส่วนใหญ่จะใช้ผัดกับน้ำมัน แม้แต่ตำขนุน(ยำขนุน) เมื่อตำเสร็จก็ต้อง นำมาผัดอีกจึงจะรับประทาน ในปัจจุบันนี้ เนื้อสัตว์ที่นิยมนำมาทำอาหารจะเป็น หมู ไก่ เนื้อ และปลาตามลำดับ ปลาที่ใช้ในปัจจุบันมีทั้งปลาเลี้ยง และปลาที่จับ จากแม่น้ำลำคลอง

แหล่งที่มา
-www.thaigoodview.com
-www.thaifolk.com

อาชีพของคนภาคเหนือ



อาชีพของคนภาคเหนือ
ชาวเหนือส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ การทำนาส่วนใหญ่จะเป็นนาดำ ที่ลุ่มมาก ๆ จึงทำนาหว่าน คนเหนือปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะบริโภคข้าวเหนียว ข้าวเหนียวภาคเหนือถือเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี นึ่งสุกแล้วขาวสะอาด อ่อนและนิ่มน่ารับประทาน ข้าวพันธ์ที่มีชื่อเสียง คือ ข้าวสันป่าตอง นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่น ๆ เช่น หอม กระเทียม ถั่ว ยาสูบ เป็นต้น นอกจากปลูกข้าวแล้ว อาชีพทำสวนก็เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะทำสวนลำไย และลิ้นจี่ นอกจากจะขายให้คนไทยได้รับประทานแล้ว ยังส่งขายต่างประเทศอีกด้วย
ยังมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวเหนือ คือ การทำเมี่ยง ชาวเหนือชอบกินหมากและอมเมี่ยง โดยเอาใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักนานได้ที่ เวลาจะเอาใบเมี่ยงมาอม ก็ผสมเกลือเม็ดหรือของกินอย่างอื่นแล้วแต่ชอบ
นอกจากการอมเมี่ยง คนล้านนาทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า “ขี้โย” หรือ “บุหรี่ขี้โย” ที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น
นอกจากอาชีพเกษตรกรรม ชาวเหนือยังประกอบอาชีพอื่น อาจเรียกได้ว่าเป็นหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ได้ คือ ผู้หญิงจะทอผ้าเมื่อเสร็จจากการทำนา นอกจากนั้นยังมีการแกะสลัก การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน และการทำเครื่องเหล็ก เป็นต้น

แหล่งที่มา
-www.thaifolk.com/doc/northen.htm
-www.tkc.go.th

การแสดงของคนภาคเหนือ



การแสดงของคนภาคเหนือ
ภาคนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะเร็วท่าหยาบนุ่มนวล เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อนในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ
นาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนชมเดือน ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง)ตีกลองสะบัดไชย ซอ ค่าว นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น
ดังนั้น นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือนอกจากมีของที่เป็น "คนเมือง" แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ และของชนเผ่าต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า เช่น ฟ้อนม่านมงคล ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ เช่น ฟ้อนนก(กิงกาหล่า - ไทยใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว (เงี้ยว) ระบำเก็บใบชา(ชาวไทยภูเขา)

แหล่งที่มา
-www.banramthai.com/html/puenmuang.html
-th.wikipedia.org/wiki
-

ภาษาของคนภาคเหนือ


ภาษาของคนภาคเหนือ
ภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะพูดกันมากใน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก และ แพร่ และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในอุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์อีกด้วย
นอกจากนี้ คำเมืองเป็นภาษาของคนไท-ยวน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรืออาณาจักรล้านนา และ อาณาจักรโยนกในอดีต ปัจจุบันกล่มคนไท-ยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครราชสีมาอีกด้วย
คำเมืองมีไวยากรณ์เหมือนกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกัน แต่เดิมได้ใช้ คู่กับ ตั๋วเมือง,ตัวเมือง ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่อักษรมอญใช้เป็นต้นแบบ
ภาษาเหนือหรือภาษาล้านนาเป็นภาษาย่อยหรือภาษาถิ่นของภาษาไทย ใช้กันในดินแดนล้านนา 8 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
ความแตกต่างของภาษาพูด (คำเมือง) ระหว่างภาษากลางและภาษาเหนือคือ การใช้คำศัพท์ พยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ต่างกัน ตัวอย่างเช่น

คำศัพท์ต่างกัน(ภาษากลาง - ภาษาเหนือ)
ยี่สิบ - ซาว
ไม่ - บ่
เที่ยว - แอ่ว
ดู - ผ่อ
สวย - งาม
อีก - แหม
นาน - เมิน
สนุก, ดี, เพราะ - ม่วน
อร่อย - ลำ

แหล่งที่มา
-lms.thaicyberu.go.th/
-www.thaifolk.com/doc/northen.htm

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้